เครื่องแยกตะกอน มีทั้งหมดกี่ประเภท และมีอะไรบ้าง?
8 พ.ค. 2567
ในสภาวการณ์ปัจจุบันที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน จังหวัดอะไร ก็มักจะมีโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ในหลากหลายสถานที่ ซ้ำยังมีจำนวนมากอีกด้วย แม้แต่ในชุมชนเล็ก ๆ ทำให้ “ระบบบำบัดน้ำเสีย” เป็นสิ่งที่ทุกโรงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมี เพื่อบำบัดน้ำเสียก่อนทำการปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งรับน้ำเสีย และถ้าหากไม่มีระบบการบำบัดน้ำเสีย อาจส่งผลให้เกิดปัญหาหรือส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และชุมชนในละแวกใกล้เคียงได้
ด้วยเหตุนี้ “เครื่องแยกตะกอน” จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในระบบบำบัดน้ำเสียของบรรดาโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถกำจัดตะกอนได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะได้ปริมาณของ “ตะกอนแห้ง (Sludge Cake)” ออกมาในปริมาณที่ค่อนข้างมาก โดยหลักการและประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องแยกตะกอนจะขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องแยกตะกอนที่โรงงานอุตสาหกรรมเลือกใช้
แต่ถ้าใครยังไม่รู้ว่าเครื่องแยกตะกอนนั้นมีทั้งหมดกี่ประเภท ? และมีอะไรบ้าง ? ในบทความนี้ มีคำตอบให้แล้ว!
เครื่องแยกตะกอนคืออะไร?
ก่อนจะไปรู้จักกับประเภทของเครื่องแยกตะกอน เราต้องมารู้จักกับ “เครื่องแยกตะกอน” กันก่อนว่ามีส่วนช่วยในการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียอย่างไรบ้าง
เครื่องแยกตะกอน หรือ Screw Press เป็นเครื่องจักรที่มีหน้าที่ในการช่วยแยกน้ำออกจากตะกอนหรือเครื่องจักรในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยระบบจะทำงานโดยการแยกน้ำออกจากตะกอน ซึ่งปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีไหน ต่างก็ทำให้มีตะกอนเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการบำบัดน้ำเสีย เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการกำจัดตะกอนออกจากระบบ เพื่อส่งไปกำจัดด้วยวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยกระบวนการแยกน้ำออกจากตะกอนนั้น สามารถแบ่งออกได้ 2 ระบบ ดังนี้
-การใช้ลานลากตะกอน
การใช้ลานลากตะกอน (Sand Drying Bed) ซึ่งก็คือกระบวนการกำจัดตะกอนโดยการส่งน้ำที่มีตะกอนปนเปื้อนอยู่เข้าไปในลานตากตะกอน โดยกระบวนการนี้จะไม่มีการใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย แต่จำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ที่มีความกว้างขวางมากพอ เนื่องจากวิธีนี้จะต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก และวิธีนี้ก็ต้องใช้เวลานานในการทำ และอาจส่งผลให้มีปัญหาเรื่องกลิ่นตามมาด้วย เพราะลานลากตะกอนเป็นระบบเปิด ทำให้อาจมีปัญหาในการควบคุมกลิ่นนั่นเอง
-การนำเครื่องจักรเข้ามาช่วย
วิธีนี้จะเป็นการแยกน้ำออกจากตะกอนด้วยการนำเครื่องจักรอย่าง “เครื่องแยกตะกอน” เข้ามาใช้ในการช่วยแยกตะกอนในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยในปัจจุบัน เครื่องแยกตะกอนเป็นเครื่องจักรที่ได้รับความนิยมมากและมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงการบำบัดน้ำเสียในระดับชุมชน
เครื่องแยกตะกอนมีกี่ประเภท?
เครื่องแยกตะกอนมีด้วยกันทั้งหมด 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทก็มีวิธีการทำงานและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่
1. เครื่องแยกตะกอน Filter Press
เครื่องแยกตะกอน Filter Press คือเครื่องแยกตะกอนซึ่งใช้หลักการการแยกของแข็งกับของเหลวออกจากกันโดยใช้ถุงกรอง ทั้งนี้เครื่องแยกตะกอน Filter Press จะทำการสูบน้ำตะกอนเข้าถุงกรอง หลังจากนั้นจึงจะใช้ระบบ Hydraulic ในการบีบอัดถุงกรอง จากนั้นน้ำตะกอนที่อยู่ในถุงกรองจะไหลออกมาจนเหลือแค่กากตะกอน (Sludge Cake) อยู่ในถุงกรอง และเครื่องแยกตะกอน Filter Press จะใช้แรงดันที่สูงถึง 5-16 Bar เพื่อให้ได้ตะกอนที่แห้ง และเมื่อได้ตะกอนแห้งตามที่ต้องการแล้วนั้น ก็ต้องแกะถุงกรองเพื่อนำตะกอนแห้งออกมาแล้วนำไปส่งกำจัดในขั้นตอนต่อไป
ข้อดี : สามารถแยกกากหรือตะกอนออกจากน้ำที่มีความแห้งกว่า 40%
ข้อเสีย : มีการทำงานเป็นรอบ ๆ ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง และห้ามมีของมีคม ของแข็ง หรือกรวดปะปนอยู่ในตะกอน
2. เครื่องแยกตะกอน Belt Press
เครื่องแยกตะกอน Belt Press เป็นเครื่องแยกตะกอนที่แยกน้ำออกจากตะกอนโดยใช้แรงดันที่เกิดจากสายสะพานที่ขึงอยู่บนลูกกลิ้ง (Roller) โดยน้ำตะกอนจะถูกสูบและส่งไปยังสายพาน (Belt) หลังจากนั้นน้ำตะกอนจะไหลออกผ่านรูพรุนของสายพานตามแรงโน้มถ่วง และเมื่อสายพานเคลื่อนผ่านลูกกลิ้งที่มีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ เนื้อตะกอนที่กระจายไปบนสายพานจะถูกรีดให้แห้ง แต่ระดับความแห้งของตะกอนที่จะได้จะขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของตะกอน
ข้อดี : เป็นระบบอัตโนมัติ จึงทำให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
ข้อเสีย : จำเป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมการทำงานของเครื่อง, ไม่เหมาะกับระบบบำบัดน้ำเสียที่มีไขมัน, สิ้นเปลืองน้ำ เพราะมีการใช้น้ำในปริมาณมาก, มีข้อจำกัดในการใช้งานในกระบวนการแยกกากออกจากน้ำที่มีความเข้มข้นสูง, สายพานมีอายุการใช้งานสั้น จึงต้องคอยดูแลและเปลี่ยนบ่อยกว่าประเภทอื่น
3. เครื่องแยกตะกอน Decanter Press
เครื่องแยกตะกอน Decanter Press มีอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องแยกตะกอน Decanter Centrifuges เป็นเครื่องแยกตะกอนที่อาศัยแรงเหวี่ยง โดยแรงเหวี่ยงจะทำให้ตะกอนที่มีความหนักกว่าน้ำจนถูกเหวี่ยงหนีจุดศูนย์กลาง หลังจากนั้นใบกวาดจะกวาดตะกอนที่ถูกแยกออกมาไปยังจุดปล่อยทิ้งกาก ส่วนน้ำจะไหลไปอีกทางหนึ่ง ทำให้เครื่องแยกตะกอนประเภทนี้มีการใช้มอเตอร์ที่มีกำลังสูง เพื่อให้เกิดแรงเหวี่ยงที่มากพอที่จะแยกตะกอนออกจากน้ำ
ข้อดี : ตัวเครื่องมีขนาดเล็ก ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากในการใช้งานเครื่อง, เป็นเครื่องแยกตะกอนระบบปิด ทำให้สามารถควบคุมปัญหาเรื่องกลิ่น, สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องเนื่องจากเป็นระบบอัตโนมัติ
ข้อเสีย : มีราคาสูง, ไม่สามารถแยกตะกอนที่มีน้ำหนักเบาได้, ใช้พลังงานมาก, เสียงดัง มีแรงสั่นสะเทือนสูง
[H3] 4. เครื่องแยกตะกอน Screw Press
เครื่องแยกตะกอน Screw Press เป็นเทคโนโลยีการแยกตะกอนที่สามารถแยกตะกอนได้หลากหลายประเภท เช่น ตะกอนที่เกิดจากระบบบำบัดน้ำเสียเชิงชีวภาพ หรือตะกอนที่เกิดจากระบบบำบัดน้ำเสียเชิงเคมี โดยเครื่องแยกตะกอนประเภทนี้จะทำงานโดยระบบ “เคลื่อนที่น้ำตะกอน” โดยใช้สกรูหรือเดือยเคลื่อนที่ตะกอนผ่านชุด Moving and Fixed Rings ช่วยให้น้ำสามารถแยกออกจากตะกอนผ่านช่องว่างเล็ก ๆ
ระบบการทำงานแบบนี้ จะช่วยทำให้เครื่องแยกตะกอนประเภท Screw Press ไม่เกิดการอุดตัน เพราะตะกอนจะมีการเคลื่อนที่อยู่เรื่อย ๆ เพื่อทยอยบีบน้ำออกตามขนาดของช่องว่างที่เล็กลงจนแห้งลง กลายเป็นตะกอนแห้ง นอกจากนี้เครื่องแยกตะกอนประเภท Screw Press ยังมีการติดตั้ง “ถังเตรียมตะกอน” เพื่อให้เกิดการรวมตัวของเนื้อตะกอน ก่อนที่จะส่งไปยังชุดแยก ทำให้เครื่องแยกตะกอนประเภทนี้สามารถแยกตะกอนที่มีความเข้มข้นสูงมาก
ข้อดี : สามารถรับน้ำตะกอนที่มีความเข้มข้นหลากหลายได้, ไม่ต้องติดตั้งถังทำข้น, สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องเพราะเป็นระบบอัตโนมัติ, มีขนาดเล็ก ช่วยประหยัดพื้นที่การใช้งาน, ใช้พลังงานต่ำ, เสียงเบา, ต้องการการดูแลเครื่องน้อย, เป็นระบบปิด สามารถควบคุมปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวนได้
ข้อเสีย : ไม่มีข้อเสีย
เมื่อเปรียบเทียบเครื่องแยกตะกอนทั้ง 4 ประเภทแล้ว จะพบว่าเครื่องแยกตะกอน Screw Press มีข้อเสียน้อยกว่าเครื่องแยกตะกอนประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคุณสมบัติ ระบบการทำงาน วิธีการทำงานที่ไม่ยุ่งยาก อีกทั้งยังสามารถทำงานได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เครื่องแยกตะกอน Screw Press เป็นเครื่องแยกตะกอนที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายที่สุดในบรรดาเครื่องแยกตะกอนทุกประเภท
ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องแยกตะกอนจึงต้องมีการพิจารณาจากประเภทและขนาดของโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงจุดประสงค์ในการใช้และผลลัพธ์ที่ต้องการด้วยนั่นเอง แต่สิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุดก็คือ การเลือกใช้เครื่องแยกตะกอนที่ถูกผลิตมาจากโรงงานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้
ยกตัวอย่างเช่น เครื่องแยกตะกอน Slit Saver จาก C.C.Autopart ที่ใช้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่นเข้ามาช่วยในการผลิตเครื่องแยกตะกอนสำหรับใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย โดยเครื่องแยกตะกอน Slit Saver ของเราสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ มีขนาดเล็ก ไม่เปลืองพื้นที่ในการติดตั้ง ไม่มีสนิม ไม่มีเสียงและแรงสั่น รวมถึงช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตได้อีกด้วย
ด้วยประสบการณ์ทางด้านธุรกิจสิ่งแวดล้อมมากว่า 60 ปีจากประเทศญี่ปุ่น มีฐานลูกค้ามากกว่า 16 ประเทศ ยอดขายมากกว่า 1,500 เครื่องทั่วโลก และคุณภาพของเครื่องจักรของ C.C.Autopart ทำให้มั่นใจได้ว่า ลูกค้าทุกท่านจะได้รับแต่เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดีที่สุดเท่านั้น เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์และประสิทธิภาพต่อระบบบำบัดน้ำเสียอย่างสูงสุด
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
24 พ.ค. 2567
“ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า” นวัตกรรมที่มาพร้อมเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในขณะนี้ !
23 พ.ค. 2567
เผยเคล็ดลับ ! ทำไม “อุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทย” ถึงไม่แพ้ชาติอื่น
22 พ.ค. 2567