เผยเคล็ดลับ ! ทำไม “อุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทย” ถึงไม่แพ้ชาติอื่น
23 พ.ค. 2567
ประเทศไทย เป็นประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “Medical Hub” หรือ “ศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจร” ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ทำให้ประเทศไทยกลายเป็น 1 ในประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางที่คนทั่วโลกนึกถึงยามเจ็บป่วยหรือต้องการการรักษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการที่มีฝีมือในระดับโลก
นอกจากนี้ ประเทศไทยก็ยังมีโรงพยาบาลชั้นนำอีกมากมายหลายแห่ง การบริการที่บริการจากหัวใจ รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยก็พัฒนาให้เทียบเท่านานาประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงส่งผลให้ในการจัดอันดับของ Global Health Security Index มีชื่อของประเทศไทยติดอยู่ในอันดับที่ 5 จากทั้งหมด 195 ประเทศ จากหลายหมวดหมู่ของการจัดอันดับ
ไม่ใช่เพียงฝีมือของเหล่าแพทย์ผู้มากประสบการณ์ที่คอยทำการรักษาผู้ป่วย และผลงานจากการทำงานหนักของบุคลากรทางการแพทย์ในทุกภาคส่วนเท่านั้น แต่ยังมีหนึ่งสิ่งที่ขับเคลื่อนให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจร และเป็นผู้นำทางแพทยศาสตร์ได้อย่างไม่ยากนักนั่นก็คือ “อุปกรณ์ทางการแพทย์” ของประเทศไทย นั่นเอง
เราเลยจะพาทุกคนท่องไปในโลกของ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และมาเจาะลึกไปพร้อม ๆ กันว่า “ทำไมอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยถึงไม่แพ้ชาติอื่น ?”
แนวโน้มการเจริญเติบโตของตลาดอุปกรณ์ทางการแพทย์
ผลจากอัตราการเจ็บป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Aged Societies)”, การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอยู่เนือง ๆ ในทุก ๆ วัน, อัตราการเจริญเติบโตของตลาดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ไปจนถึงความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้นในตลาดส่งออกสำคัญของไทย ส่งผลให้ภายในปี 2566-2568 ตลาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเรื่อง โดยมีการคาดว่ามูลค่าจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศจะเติบโตในอัตราเฉลี่ย 5.5-7.0% ต่อปี
นอกจากนี้ ภาครัฐยังมีนโยบายในการส่งเสริมให้ประเทศกลายเป็น “ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ” และ “ศูนย์กลางการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ในอาเซียน” อีกด้วย จึงเป็นการแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งนั่นก็เป็นผลพวงมาจากการที่อุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยมีคุณภาพดี นั่นเอง
อุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศไทย
ประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตวัสดุและอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปในทิศทางที่ค่อนข้างสูง โดยที่ประเทศไทย อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ผลิต และเป็นสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ดีในระดับโลกก็คือ ถุงมือยางทางการแพทย์ เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้นำในการผลิตยางพารา ซึ่งเป็นวัสดุหลักในการนำมาทำเป็นถุงมือยางทางการแพทย์ รายใหญ่ของโลก และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตรองลงมาก็คือ หลอดสวนและหลอดฉีดยา ที่ใช้พลาสติกเป็นวัสดุสำคัญในการผลิต
อุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างต่อมาที่ประเทศไทยมีอัตราการผลิตสูงที่สุดรองลงมาจากถุงมือยางทางการแพทย์ และหลอดสวนและหลอดฉีดยา ก็คือ กลุ่มครุภัณฑ์ทางการแพทย์ หรือ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ เช่น เตียงผู้ป่วย หรือเครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น ซึ่งในอนาคต อุตสาหกรรมครุภัณฑ์ทางการแพทย์นั้นก็ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็น 1 ในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) และผู้ประกอบการภายในประเทศมีความสามารถที่จะผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานและระดับสากลได้ และสามารถเจาะเน้นตลาดภายในประเทศไทยได้เพิ่มมากขึ้น
จากทั้งหมดที่ว่ามานี้เอง ที่ทำให้เป็นเหตุผลว่าทำไม อุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยถึงไม่แพ้ชาติใดในโลก เพราะนอกจากเราจะมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความสามารถและเต็มไปด้วยประสบการณ์แล้ว ผู้ประกอบการของประเทศไทยก็ยังคงมีฝีมือและความสามารถในการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้ด้วยตัวเอง ลดการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ และในอนาคต ประเทศไทยก็อาจสามารถขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ของโลกได้อย่างไม่ยากนัก
ร่วมผลักดันอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทย ให้ไปไกลสู่ระดับโลก
รู้หรือไม่ว่า เราเองก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของแรงผลักดันและขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยเติบโต และก้าวไปไกลได้สู่ระดับโลกได้ด้วยเช่นกัน เพียงแค่เรา...
1. สนับสนุนการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยในหน่วยงานและโรงพยาบาลของทั้งภาครัฐและเอกชน
เช่น การร่วมสนับสนุนให้มีการนำอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผลิตโดยคนไทยไปใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ในระดับโรงเรียนแพทย์ จนถึงโรงพยาบาลทั้งของภาครัฐและเอกชน และเมื่อมีการใช้งานอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยเพิ่มมากขึ้น จำนวนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ผู้ผลิตจะสามารถนำไปปรับปรุงและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้อุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
2. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาควิชาการและภาคธุรกิจ
ผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง “นักวิจัย” และ “ผู้ประกอบการ” เนื่องจากนักวิจัยมีหน้าที่ในการคิดค้นและทดลองอุปกรณ์ทางการแพทย์ใหม่ ๆ ในขณะที่ผู้ประกอบการจะนำอุปกรณ์ทางการแพทย์ต้นแบบไปผลิตออกสู่ตลาดจริง การร่วมมือระหว่าง 2 ภาคส่วนจึงจะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ไทยสามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
3. สนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ปรับปรุงระบบการให้ทุนวิจัยและร่วมกันลงทุนในการวิจัยและพัฒนาระหว่างภาครัฐและเอกชน เช่น ให้เอกชนสามารถรับการสนับสนุนทุนวิจัยจากภาครัฐได้
ทั้งนี้ บริษัท C.C. Autopart บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ชั้นนำของประเทศไทย ขอเป็นอีกกระบอกเสียงและแรงขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ของประเทศไทยเติบโตมากขึ้นในอนาคต โดยบริษัท C.C. Autopart ที่มีความรอบรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านงานวิศวกรรม ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการคิดค้นนวัตกรรมและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่ง ๆ ขึ้นไป พร้อมเป็นหนึ่งแรงที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้สามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างภาคภูมิ
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
24 พ.ค. 2567
“ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า” นวัตกรรมที่มาพร้อมเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในขณะนี้ !
22 พ.ค. 2567
4 แนวทางการบริหารจัดการน้ำ ต่อภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย
21 พ.ค. 2567