4 แนวทางการบริหารจัดการน้ำ ต่อภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย

“น้ำคือชีวิต” คำที่ไม่ว่าใครก็จะต้องเคยได้ยินผ่านหู หรือได้อ่านผ่านตากันมาบ้าง และเราก็คงต้องยอมรับว่า คำนี้ไม่ใช่คำกล่าวเกินจริง หรือโฆษณาชวนเชื่อแต่อย่างใด เพราะไม่ว่าจะคน พืช หรือสัตว์ก็จะต้องอาศัยน้ำในการอุปโภคและบริโภค ทำให้น้ำมีความสำคัญอย่างมากกับการดำรงชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเกษตรที่ “จำเป็น” ต้องมีน้ำเป็นหัวใจสำคัญ

น้ำในอุตสาหกรรมการเกษตร

เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา ได้มีการคาดเดาแนวโน้มเรื่องการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของไทยออกมา โดยแนวโน้มเผยว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ปริมาณน้ำในประเทศไทยจะมีแนวโน้มลดลง ~5% ตามความผันผวนของสภาพอากาศ เนื่องจากอุปทานน้ำของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากฝนที่ตกในประเทศเป็นหลัก ทำให้เราไม่สามารถคาดการณ์และวางแผนการใช้น้ำจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ในประเทศได้ยาก ส่งผลให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มปริมาณความจุ ทำให้ผลผลิตทางเกษตรอาจได้คุณภาพที่ไม่ดีเท่าที่เคย หรือผลผลิตทางการเกษตรมีปริมาณน้อยลง รวมถึงอาจส่งผลต่อกรมปศุสัตว์ที่มีหน้าที่ในการควบคุมคุณภาพอาหารและน้ำที่สัตว์จะได้ดื่มกินอีกด้วย

แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถคาดเดาในเรื่องของฝนฟ้าอากาศได้ แต่สิ่งที่เราสามารถเตรียมพร้อมเอาไว้ก่อนได้นั่นก็คือ “แนวทางบริหารจัดการน้ำ” เพื่อเป็นการเตรียมรับมือและลดปัญหาทางน้ำเมื่อถึงเวลา วันนี้ เราจึงจะแนะนำ “4 แนวทางบริหารจัดการน้ำ” เพื่อรับมือกับปัญหาทางน้ำให้ทุกคนได้รู้จัก ไปจนถึงวิธีแก้ไขปัญหาสำหรับภาคอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย

1. การจัดการน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภค

เมื่อมีปัญหาทางน้ำ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำหรืออุทกภัย สิ่งที่ทุกคนได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรกเลยก็คือ “ไม่มีน้ำสำหรับอุปโภคและอุปโภค” ไม่ว่าจะเป็นการขาดน้ำดื่ม ไม่มีน้ำอาบ ไปจนถึงไม่มีน้ำสำหรับใช้ในการทำการเกษตร ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเฉาตายหรือขาดแคลนตามไปด้วย

น้ำกิน

แนวทางการจัดการน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคจึงเป็นแผนในการจัดการแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำต้นทุน และสนับสนุนให้ชุมชนต่าง ๆ กักเก็บน้ำฝนเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น แต่ก่อนที่จะสามารถนำน้ำฝนมาใช้ดื่ม อาบ หรือใช้ทำการเกษตรได้ ก็ควรจะผ่านการบำบัดน้ำให้สะอาดและถูกสุขลักษณะอนามัยเสียก่อน เพื่อไม่ให้มีผลต่อสุขภาพหรือผลผลิตทางการเกษตรในภายหลัง

2. ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย

อุตสาหกรรมการเกษตรเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เป็นรายได้หลักให้กับคนไทยในหลายภาคส่วน ทำให้ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำฝนที่จะตกลงมาในปีนั้น ๆ ได้ แต่เกษตรกรก็สามารถเลือกที่จะหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยได้ ไม่ว่าจะเป็น พืชตระกูลถั่ว มะละกอ ฟักทอง แก้วมังกร มะพร้าว ฯลฯ

อุตสาหกรรมการเกษตร

โดยการเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยจะช่วยลดความเสี่ยงจากปัญหาขาดแคลนน้ำและภัยแล้ง พร้อมช่วยลดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตร อีกทั้งการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยสลับกับการปลูกข้าวยังส่งผลดีมากกว่าการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องอีกด้วย เนื่องจากพืชไร่ที่ใช้น้ำน้อยจะช่วยอนุรักษ์ดิน ปรับปรุง บำรุงดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และช่วยรักษาระบบนิเวศน์ให้สมดุล

3. บริหารและจัดการแหล่งน้ำในชุมชน

แหล่งน้ำในทุกชุมชนมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นลำธาร แม่น้ำ หนอง บึง ทะเล โดยแหล่งน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และยังมีอีกหลายแหล่งน้ำที่มนุษย์เป็นคนสร้างขึ้นเอง เช่น บ่อ หรือ คลอง เป็นต้น การบริหารและจัดการแหล่งน้ำในชุมชนเหล่านี้จึงเป็นหนึ่งในแนวทางการจัดการน้ำที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่ง

น้ำกิน อุปโภค บริโภค

โดยแนวทางการจัดการแหล่งน้ำในชุมชนนั้นสามารถทำได้ตั้งแต่จัดการน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ เช่น การขุดลอกขยายคลองธรรมชาติเดิม เพื่อดักน้ำที่จะไหลลงตามทางน้ำเอาไว้ นำน้ำหลากส่งตามแนวคลอง กักเก็บน้ำเอาไว้ตามสระน้ำแก้มลิง หรือสร้างบ่อกักเก็บน้ำเพื่อสำรองน้ำเอาไว้ ทำให้ชุมชนมีน้ำใช้ในยามแล้ง หรือในช่วงที่ฝนทิ้งช่วง

4. ปลูกฝังการใช้น้ำอย่างถูกต้องและคุ้มค่า

จริง ๆ แล้วแนวทางการจัดการน้ำที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพที่สุดคือการเริ่มต้นจากตัวเรา เนื่องจากมนุษย์เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดน้ำเสียและมลภาวะทางน้ำมากขึ้นจนทำให้มีน้ำเสียเป็นปริมาณมาก และทำให้เราไม่สามารถนำน้ำเหล่านั้นมาใช้ในยามจำเป็นได้ การปลูกฝังการใช้น้ำอย่างถูกต้องและคุ้มค่าให้กับตัวเอง ครอบครัว ไปจนถึงชุมชน จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญไม่แพ้แนวทางการจัดการน้ำวิธีอื่น ๆ

น้ำกิน น้ำอุปโภค บริโภค

ซึ่งการใช้น้ำอย่างถูกต้องและคุ้มค่านั้นทำสามารถทำได้ง่ายกว่าที่เราคิด ไม่ว่าจะเป็นการไม่ทิ้งขยะมูลฝอย น้ำเสีย หรือของเสียลงสู่แหล่งน้ำ ลดปริมาณการใช้น้ำในชีวิตประจำวัน ลดการใช้สารเคมีในพื้นที่ทำการเกษตร ไปจนถึงการใช้เครื่องมือที่จะช่วยเปลี่ยนน้ำนิ่งธรรมดาให้กลายเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติเหมือนน้ำบริสุทธิ์ อย่างการใช้เทคโนโลยี Dileka เป็นต้น


โดยเทคโนโลยี Dileka เป็น “เครื่องกระตุ้นน้ำ” ที่จะสามารถเปลี่ยนน้ำนิ่งให้กลายเป็นน้ำที่มีพลังงาน สามารถดูดซึมได้ดี และอุดมไปด้วยสารอาหาร ทำให้การนำเทคโนโลยี Dileka มาใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรจะช่วยให้พืชสามารถดูดซึมน้ำ ปุ๋ย และสารอาหารได้มากขึ้น ทำให้สามารถควบคุมปริมาณการใช้น้ำและปุ๋ยได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้รากของพืชเจริญเติบโตได้ดีขึ้น โดยเกษตรกรสามารถนำน้ำที่กักเก็บเอาไว้มาผ่านเทคโนโลยี Dileka และนำน้ำเหล่านั้นไปใช้ในการทำการเกษตร อุปโภคและบริโภคได้


และนี่คือ “4 แนวทางการบริหารจัดการน้ำ” ที่มีผลต่ออุตสาหกรรมการเกษตรไทยในอนาคต หากใครอยากศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี Dileka ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการเกษตรไทยเพิ่มมากขึ้น ก็สามารถตามไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ 6 จุดเด่นของ Dileka ตัวช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ หรือสามารถสอบถามข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี Dileka เพิ่มเติมกับ C.C.Autopart ได้เลย เนื่องจากเราเป็นบริษัทนำเข้าเครื่องกระตุ้นน้ำ Dileka อันดับต้น ๆ ของประเทศไทย เพราะเราเชี่ยวชาญในเรื่องเทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย และสามารถเป็นที่ปรึกษาอยู่คู่เกษตรกร เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างยั่งยืน

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

“ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า” นวัตกรรมที่มาพร้อมเทรนด์ที่มาแรงที่สุดในขณะนี้ !

อุปกรณ์ทางการแพทย์

เผยเคล็ดลับ ! ทำไม “อุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทย” ถึงไม่แพ้ชาติอื่น

อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

เจาะลึก “แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง” ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในอนาคต